อาหารกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Last updated: 9 Jul 2024  |  157 Views  | 

อาหารกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เชื่อว่าทุกคนบนโลกนี้ล้วนเป็น “สายกิน” เพราะอาหารคือปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่มีใครไม่ต้องกินอาหาร ไม่มีใครกินอาหารผิดสำแดงแล้วจะไม่ป่วย ความจริงที่น่าตกใจคือแม้ทุกวันนี้เราจะสามารถผลิตอาหารได้มากมายโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ตลอดเส้นทางกว่าจะมาเป็นอาหารบนจาน หรือแม้กระทั่งหลังเรากินเสร็จแล้วก็ตาม กระบวนการทั้งหมดคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น อย่างไรก็ตาม ความจริงที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ ในขณะที่การผลิตและบริโภคอาหารทำให้โลกร้อนขึ้น แต่โลกที่ร้อนขึ้นก็ย้อนกลับมาทำลายความมั่นคงด้านอาหารของทุกคนเช่นกัน ดังนั้นถ้าเรายังไม่เปลี่ยนแปลงวิธีผลิตอาหารให้ยั่งยืนขึ้น และปรับพฤติกรรมการกินให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตั้งแต่วันนี้ ในอนาคตเราจะไม่เหลืออาหารรสชาติถูกปากให้ได้ลิ้มลองกันอีกต่อไป

เศษอาหารและวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รายงาน IPCC ทั่วโลกมีการผลิตอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในตรงข้ามกันเราก็กำลังสูญเสียอาหารไปมากเช่นกัน องค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินว่าอาหาร 1.3 พันล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของการผลิตของโลกจะกลายเป็นขยะก่อนที่จะหมดลง ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 10.5 ของมนุษย์กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร ร้อยละ 26 เป็นโรคอ้วน และก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมอาหาร คิดเป็นร้อยละ 25 – 30 ของการปล่อยทั้งหมดซึ่งนำไปสู่วิกฤตสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน และ UN ได้เตือนว่าเศษอาหารเพียงอย่างเดียวทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 10 ดังนั้นจึงเรียกร้องให้เราเปลี่ยนอาหารและปรับพฤติกรรมของการกินเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การกินของพวกเราทำให้โลกร้อนขึ้นได้ยังไง? ทุกๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ล้วนสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามระบบอาหารตั้งแต่ต้นจนถึงปลายทางของทุก ๆ คนบนโลก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ขนส่ง จัดจำหน่าย จนถึงการปรุง และทิ้งขยะอาหาร ทั้งหมดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงสองในสามของปริมาณก๊าซจากกิจกรรมของมนุษย์และอย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่าโลกร้อนจะทำให้รูปแบบการกินของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ระบบนิเวศผันผวน
ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมสภาพ ทั้งหมดส่งผลโดยตรงต่อการเพาะปลูกพืชผลอันรากฐานของอาหารที่เรากินทุกชนิด

อาหารหนึ่งจานที่เรากินจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร การเดินทาง กระบวนการปรุงและการผลิต ดังนั้น เราสามารถกินเพื่อช่วยโลกได้ 4 เทคนิคง่าย ๆ คือ          

1) ซื้อเฉพาะสิ่งที่ต้องการ ราว 20-50% ของทุกสิ่งที่เราซื้อจะกลายเป็นขยะ
2) ลดกินเนื้อและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 70% ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์โลกมาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์
3) ลดการกินอาหารแปรรูปหรือมีขั้นตอนการผลิตมาก ยิ่งผ่านขั้นตอนมากยิ่งปล่อยคาร์บอนมาก
4) ซื้ออาหารท้องถิ่นและกินตามฤดูกาล ลดพลังงานในการขนส่ง การเก็บรักษา รวมถึงลดการใช้สารเคมีที่เกินพอดี

ข้อมูลของ Our World in Data ได้จัดอันดับของวัตถุดิบที่ปล่อยคาร์บอนบอนฟุตพริ้นท์มากที่สุด 10 อันดับแรกของโลก เนื่องจาก “การผลิตเนื้อ’ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อแดง เนื้อขาว หรืออาหารทะเล และการผลิตอาหารจากสัตว์ เช่น ชีส ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในปริมาณมาก และเนื้อที่ครองอันดับหนึ่งก็คือ เนื้อวัว ที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์สูงกว่าวัตถุดิบอย่างอื่นหลายเท่าตัว ในขณะที่เนื้อที่เป็นมิตรกับโลกที่สุดก็คือ เนื้อไก่ และอาหารที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อยที่สุด คือ อาหารจำพวกพืช ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ธัญพืช พรือพืชจำพวกถั่วต่าง ๆ เพราะการผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ใช้พื้นที่ พลังงาน น้ำ และทรัพยากรน้อยกว่าเนื้อสัตว์ ดังนั้น Our World in Data ได้จัดอันดับอาหารที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อยที่สุด 5 อันดับ โดยคิดจากปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ถูกปล่อยเข้าชั้นบรรยากาศต่อการผลิตวัตถุดิบ 1 กก. แสดงตามรูปที่ 1 และ 2

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy