การฟื้นฟูสภาพเหมืองอย่างยั่งยืน

Last updated: 20 ก.พ. 2564  |  3010 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การฟื้นฟูสภาพเหมืองอย่างยั่งยืน

       บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินกิจการทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์โดยวิธีเหมืองหาบ (Opencast or Open Pit Mining   เป็นวิธีการทำเหมืองเปิดในแหล่งแร่ชนิดลาน แร่บริเวณไหล่เขา โดยการเปิดหน้าดินด้วยการขุดเจาะหรือการใช้ระเบิดให้เป็นบ่อกว้างจนถึงชั้นดินที่มีแร่ แล้วใช้แรงงานคนหรือรถตัก)  อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในช่วงปี พ.ศ. 2530 – 2538 และ พ.ศ. 2546 – 2547 ในช่วงดังกล่าวสามารถผลิตลิกไนต์ จำนวนทั้งสิ้น 4.45 ล้านตัน และขุดขนดิน จำนวน 22.45 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากการผลิตดังกล่าวทำให้มีขุมบ่อเหมือง จำนวน 2 ขุม ขนาด 1.0x0.9 ตารางกิโลเมตร และขนาด 0.2x0.2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งบริษัทฯ ได้มีการดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ควบคู่ไปกับการทำเหมือง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 เหมืองปิดการดำเนินการ และบริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งคืนพื้นที่ของหน่วยงานราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  (ขอขอบคุณข้อมูลจาก NID Center CMU)  

        อย่างไรก็ตาม มีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่เป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์ของทางบริษัทฯ คือพื้นที่ขุมเหมือง BP-2 ดังแสดงในภาพประกอบ มีน้ำในขุมเหมืองราว 4.66 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ MSL436.24 เมตร ในปัจจุบัน ผลการฟื้นฟูได้สมบูรณ์แล้วทั้งสภาพดิน และความเป็นกรดด่างของน้ำ โดยเน้นการบำบัดและปรับปรุงพื้นที่โดยใช้ Active Treatment และ Passive Treatment ควบคู่กัน เช่น ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำแบบชีวภาพด้วยหินปูนแบบไร้อากาศ (Successive Alkalinity Producing : SAP) แม้ว่าบริษัทฯ ไม่ต้องดำเนินการส่งคืนพื้นที่ดังกล่าวต่อทางราชการ แต่ทางบริษัทฯ มีความต้องการฟื้นฟูพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนในสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน และพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การปลูกไผ่ที่เป็นไม้โตเร็วในพื้นที่เหมืองนั้นก็เป็นแนวคิดหนึ่งในการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ให้เป็นสีเขียว และนำไผ่ไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้ ในช่วงเย็นนั้น ที่ศาลาจุดชมวิวเหมือง เป็นจุดที่ชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยจุดหนึ่งใน อ.ลี้ จ.ลำพูน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้