รอยเท้าคาร์บอน ยิ่งมีรอยเท้าเยอะ โลกยิ่งแย่

Last updated: 7 ก.ค. 2566  |  515 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รอยเท้าคาร์บอน ยิ่งมีรอยเท้าเยอะ โลกยิ่งแย่

Carbon Footprint หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ มีหน่วยเป็น คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Co2e) โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกก็เป็นตัวการทำให้โลกของเราร้อนขึ้นนั่นเอง และยิ่งค่า Carbon Footprint ยิ่งมีค่ามาก เปอร์เซ็นต์ภาวะโลกร้อนก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
.
ดังนั้นคาร์บอนฟุตพริ้นท์จึงต้องมีฉลากกำกับเพื่อแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภครู้ว่าตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่และให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงด้วย
.
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
1.คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
เป็นฉลากที่แสดงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดทาง ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้ และการกำจัดซาก ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์มีอายุการรับรองฉลากเป็นเวลา 3 ปี
.
2.คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร CCF
เป็นการรับรองข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรในช่วงระยะเวลา 1 ปี ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรมีอายุการรับรองเป็นระยะเวลา 10 ปี
.
3.ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน
ฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยเปรียบเทียบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีปัจจุบันกับปีฐาน
.
4.ฉลากคูลโหมด (Cool Mode) เป็นฉลากที่มอบให้กับเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ สวมใส่สบาย

5.ฉลาก Carbon Offset / Carbon Neutral เป็นฉลากที่ให้การรับรองกับกิจกรรมที่มีการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์ หรือ เหตุการณ์งานอีเว้นท์ หรือ บุคคล โดยหากมีการชดเชยเพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงบางส่วนจะได้รับการรับรองฉลาก Carbon Offset และชดเชยทั้งหมดหรือลดลงเท่ากับศูนย์จะได้รับการรับรองฉลาก Carbon Neutral ซึ่งเทียบเท่ากับไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมนั้น ๆ

ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มนำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยประเทศไทยเริ่มมีการนำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์เข้ามาเมื่อปี 2553 ภายใต้ความร่วมมือของ อบก. และเอ็มเทค
.
ภาวะโลกร้อนทำให้ทุกคนต้องหันมาใส่ใจกับการเลือกใช้สินค้ามากขึ้น ก่อนจะเลือกซื้ออะไรเพื่อน ๆ ก็อย่าลืมดูสัญลักษณ์ของฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์กันด้วยนะคะ ได้ช่วยโลกแถมเป็นกระตุ้นให้ผู้ประกอบหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อ้างอิง : [1] https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/347-tsi-carbon-footprint-that-investors-should-know
[2] https://climate.setsocialimpact.com/carethebear/article/detail/17

#OpenUp
#คาร์บอนฟุตพริ้นท์ #CarbonFootprint

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้