Last updated: 29 ก.ย. 2566 | 978 จำนวนผู้เข้าชม |
คาร์บอนเครคิต (Carbon Credit) คืออะไร?
5ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดของโลก
ประเทศไทยเราอยู่ในอันดับที่ ?
รูปแบบการซื้อขายคาร์บอนเครคิต ?
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร
คือ สิทธิที่ได้รับจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยผู้ที่ได้สิทธินี้สามารถนำคาร์บอนเครดิตไปขายต่อได้ ในทางกลับกันผู้ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินกำหนดก็ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก
5 ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดของโลก
ได้แก่ จีน, สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, รัสเซีย และญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยเราอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก หรือประมาณ 0.8% ของโลก และเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงที่สุด
(ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ 21 ก.ย. 65)
รูปแบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory carbon market)
คือ ตลาดซื้อขายคาร์บอนที่ได้รับการรับรองทางกฏหมาย บังคับให้โดยภาพรวมแล้วมีการปล่อยคาร์บอนในระดับที่กำหนด มักเกิดขึ้นกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่ลงนามในการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารโตเกียว เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น
2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market)
คือ ตลาดซื้อขายคาร์บอนที่ไม่ได้ใช้กฏหมายควบคุมการปล่อยคาร์บอน แต่เป็นผู้ที่มีความสมัครใจในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยยังมีขนาดเล็ก มีอัตราการเติบโตร้อยละ 8.5 ต่อปี เพราะยังเป็นนโยบายแบบสมัครใจ (Voluntary carbon market)
ที่มาบทความ : ERDI CMU https://erdi.cmu.ac.th/?p=5590
28 ต.ค. 2567
31 ต.ค. 2567